เครื่องหอมไทย
ความหมายของคําว่า “เครื่องหอม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525 :
195) ได้ให้คําจํากัดความไว้ว่า “เครื่อง” หมายถึง สิ่งของ สิ่งที่สําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน ส่วนคําว่า “หอม” หมายถึง ได้รับกลิ่นดีกลิ่นหอม “เครื่องหอม” หมายถึง สิ่งที่นํามาประกอบกันแล้วมีกลิ่นหอม
กระบวนการผลิตเครื่องหอมไทย
ถึงแม้ว่าเครื่องหอมไทยจะมีสูตรและวิธีการที่แตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละสำนักที่สืบทอดกันมา แต่ส่วนใหญ่จะมีหลักการที่คล้ายคลึงกัน ส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตก็ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างตรงสัดส่วน ระยะเวลา และเคล็ดลับบางอย่าง ซึ่งกระบวนการผลิตที่สำคัญสามารถสรุปได้ดังนี้
การอบ หมายถึง การปรุงกลิ่นด้วยควันหรือปรุงกลิ่นด้วยดอกไม้หอม การอบทำให้มีกลิ่นหอมชั่วระยะหนึ่ง กลิ่นหอมนั้นจะซึมซาบเข้าไปในของที่นำไปอบ โดยวัตถุที่ต้องการให้มีกลิ่นนั้นจะอยู่ในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท และถูกอบด้วยเทียนอบหรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและกลิ่นแรง ไม่นิยมใช้ดอกไม้ที่กลิ่นหอมเอียนๆ หรือมีกลิ่นเปรี้ยว
การร่ำ หมายถึง การอบกลิ่นหอมซับซ้อนหลายอย่าง และกระทำโดยใช้ภาชนะเผาไฟแล้วใส่เครื่องหอม เพื่อให้เกิดควันที่มีกลิ่นหอม ได้แก่ กลิ่นหอมของยางไม้ กลิ่นน้ำมัน กลิ่นเนื้อไม้ กลิ่นดอกไม้ หลายอย่างปนกัน ใช้สำหรับอบร่ำเครื่องหอม ใช้ร่ำหีบให้มีกลิ่นหอม การร่ำเครื่องหอมต้องใช้ภาชนะที่สำคัญ คือ โถกระเบื้อง ถ้าใช้ขวดโหลแก้วอาจจะร้อนจัด ทำให้แก้วร้าวหรือแตกได้ การที่จะร่ำต้องใส่ทวน(ทวน คืออุปกรณ์ที่ใช้วางกลางโถกระเบื้องเพื่อรองรับตะคัน)ไว้ตรงกลางโถ นำตะคันเผาไฟให้ร้อนวางไว้บนทวนแล้วจึงตักเครื่องปรุง มีกำยาน และเครื่องผสมอื่นๆ ตามลักษณะของที่ประดิษฐ์ กำยานเมื่อถูกความร้อนจะระเหยและส่งกลิ่นหอม
การปรุง หมายถึง การรวมของหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน และการปรุงเครื่องหอม คือ การนำพิมเสนแห้ง หัวน้ำหอม ชะมดเช็ดมาบดผสมกัน แล้วนำไปปรุงกับน้ำอบไทยหรือเครื่องหอมอื่นๆ แต่มีข้อสังเกตว่า การที่จะใส่หัวน้ำมันหอมชะมดเช็ด จะต้องบดแป้งนวลหรือแป้งหินเสียก่อน เพื่อให้แป้งซับน้ำมันให้หมด แล้วจึงนำไปผสมหรือกวนในน้ำต่อไป เช่น การทำน้ำอบไทย จะต้องอบร่ำและปรุง จึงเรียกว่า การทำน้ำอบไทยที่สำเร็จ
ตัวอย่างเครื่องหอมไทย
 |
ดินสอพอง
คนไทยโบราณนิยมนำเอาดินสอพองมาผสมกับน้ำหอม แล้วหยอดเป็นเม็ดเล็กๆ เก็บไว้ เมื่อต้องการใช้ก็นำมาละลายน้ำแล้วใช้ทาตามเนื้อตามตัวเป็นการประทินผิวช่วยคลายร้อน และยังมีกลิ่นหอมติดตัวตลอดทั้งวันด้วย
|
 |
บุหงารำไป
บุหงารำไป เป็นเครื่องหอมไทยที่ทำได้ง่าย ใช้เวลารวดเร็ว และนิยมทำในช่วงที่มีดอกไม้บานสะพรั่ง โดยบรรจุในผ้าโปร่งหรือภาชนะจักสาน เพื่อให้มองเห็นสีสันของกลีบดอกไม้ชนิดต่างๆ ที่นำมาปรุงด้วยกัน ซึ่งมักจะมีสีสันตัดกันสวยงาม และมีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ
- บุหงาสด คือ การนำดอกไม้สดหอม ใบไม้ และสมุนไพรหอมชนิดต่างๆ หัวน้ำมันหอม สารตรึงกลิ่น อย่างละเล็กละน้อย ผสมคลุกเคล้ารวมกัน นำไปใส่ในบรรจุภัณฑ์ตามความชอบของผู้ปรุง
- บุหงาแห้ง คือ การนำดอกไม้สดหอม ใบไม้ และสมุนไพรหอมชนิดต่างๆ นำไปผ่านกรรมวิธีทำให้แห้งสะอาด และนำไปคลุกเคล้าหัวน้ำมันหอม สารตรึงกลิ่น ให้ได้กลิ่นที่ชื่นชอบ และนำไปใส่ในบรรจุภัณฑ์ตามความชอบของผู้ปรุง
- บุหงาหมัก คือ การนำดอกไม้สดหอม และดอกไม้แห้งหอม ผสมแอลกอฮอล์ ผงไม้หอมและน้ำมันหอม นำไปหมักในภาชนะทึบแสง เก็บไว้ประมาณ 8 สัปดาห์ จนส่วนผสมต่างๆ เข้าด้วยกัน จากนั้นจะนำไปใช้บรรจุทำเครื่องหอมต่อไป
|
 |
นํ้าอบชาวบ้าน
ความหอมของน้ำอบนั้นเป็นที่เลื่องลือกันมากเพราะสาวชาววังสมัยนั้นจะมีกลิ่นกายหอมยวนใจด้วยแป้งร่ำและน้ำอบเรียกได้ว่าเมื่อสาวชาววังเดินไปทางไหนจะทิ้งกลิ่นหอมเอาไว้เสมอบรรดาชาวบ้านทั้งหลายจึงอยากมีกลิ่นกายหอมเหมือนสาวชาววังบ้างทำให้ต่อมาน้ำอบจึงเริ่มเผยแพร่ออกมาจากวัง เนื่องจากหลายๆตำหนักมีการทำน้ำอบออกมาจำหน่ายนอกวังส่งผลให้ชาวบ้านได้รู้จักใช้น้ำอบเช่นกัน คนสมัยก่อนใช้น้ำอบในชีวิตประจำวันคือหลังจากอาบน้ำเสร็จก็จะนำน้ำอบมาผสมกับแป้งร่ำหรือแป้งนวลแล้วก็นำมาประตามเนื้อตัว นอกจากจะทำให้กลิ่นกายหอมสดชื่นจากน้ำอบแล้วแป้งร่ำยังจะช่วยทำให้เนื้อตัวลื่นสบาย เหมาะสำหรับเมืองร้อนอย่างประเทศไทยมาก
|
 |
นํ้าอบไทย
เป็นเครื่องหอมไทยที่มีความสำคัญที่สุด เพราะนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ใช้ทาตัวหลังอาบน้ำ ทำให้เย็นสบายตัว หอมสดชื่น ใช้สรงน้ำพระ รดน้ำผู้ใหญ่ และใช้ในเทศกาลต่างๆ
"น้ำอบไทย" เป็นเครื่องหอมชนิดหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ มีกลิ่นหอมรัญจวน หอมสดชื่น ถือเป็นภูมิปัญญาของคนไทยสมัยก่อนที่รู้จักนำรากไม้ และกลิ่นหอมของดอกไม้นานาชนิด รวมทั้งเครื่องกำยาน ชะมดเช็ด พิมเสนมาผสมกันจนมีกลิ่นหอมละมุนละไม ไม่มีหลักฐานว่าน้ำอบไทยเกิดขึ้นในสมัยใด แต่ในวรรณคดีขุนช้างขุนแผนของ สุนทรภู่ เคยกล่าวถึงขุนช้างที่ใช้น้ำอบประพรมเนื้อตัว แสดงให้เห็นว่าคนไทยรู้จักใช้น้ำอบมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแล้ว
โดยเฉพาะในวังหลวงนั้น จะมีพนักงานฝ่ายในที่ดูแลเรื่องเครื่องหอมต่าง ๆ สำหรับพระมหากษัตริย์เป็นตำแหน่งที่เรียกว่า " พนักงานพระสุคนธ์ " ซึ่งส่วนมากจะควบคุมดูแลโดยเจ้านายฝ่ายใน รับผิดชอบตั้งแต่น้ำสรง น้ำอบ ไปจนถึงการอบร่ำพระภูษา ผ้าคลุมพระบรรทมต่าง ๆ ให้หอมจรุงอยู่ตลอดเวลา
มีการสันนิษฐานว่าน้ำอบเริ่มมีการใช้ภายในพระมหาราชวังก่อน โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ละพระตำหนักจะมีการแข่งกันปรุงเครื่องหอมน้ำอบใช้เอง กลิ่นหอมของแต่ละตำหนักจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าสูตรของใครจะชอบหรือเน้นกลิ่นใดเป็นพิเศษ แต่โดยกรรมวิธีการทำจะคล้ายกัน
อย่างเช่น วังศุโขทัยของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ฯ เป็นอีกวังหนึ่งที่ขึ้นชื่อทางเรื่องน้ำอบ น้ำอบของวังนี้จะเน้นกลิ่นข้าวใหม่ คือดอกชมนาดที่มีกลิ่นอ่อนๆ คล้ายกับใบเตย ส่วนตำรับของวังหลวงมีอยู่หลายพระตำหนักด้วยกัน แต่ส่วนมากจะเน้นจันทน์เทศเป็นหลัก
สำหรับวังวรดิศก็ได้มีการทำเครื่องหอมสืบทอดกันต่อ ๆ มาตามคำบอกเล่าโดยมิได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยทำขึ้นมาใช้เองจากวัสดุและสมุนไพรหอมที่ปลูกอยู่ภายในวัง น้ำอบไทยของวังนี้จะมีกลิ่นหอมชื่นใจ เช่น กลิ่นดอกแก้ว กลิ่นลำเจียก กลิ่นจันทน์กะพ้อ กลิ่นมะลิ กลิ่นพิกุล และ กลิ่นกุหลาบ เป็นต้น
ตำหนักของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ พระขนิษฐาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ชื่อว่าเป็นตำหนักที่ทำเครื่องหอมโดยตรง เพราะนอกจากเสด็จพระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์จะทรงมีหน้าที่ปรุงพระสุคนธ์ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังทรงทำน้ำอบ น้ำปรุง แป้งสด แป้งร่ำ กระแจะ เทียนอบ จำหน่ายในวังอีกด้วย
|
 |
นํ้าปรุง
น้ำปรุุุุุงหรือน้ำหอมโบราณของไทย ใช้ความหอมของดอกไม้หอมหลากหลายชนิด ผสมกับสมุนไพรไทย เช่น พิมเสน ผิวมะกรูด ใบเตย แพร่อานุภาพความหอมไปพร้อมกับการบำรุงสุขภาพ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำให้น้ำปรุงแตกต่างไปจากน้ำหอมต่างประเทศซึ่งมีเพียงหัวน้ำหอมสกัดนำมาผสมกันเท่านั้น น้ำปรุงถือเป็นน้ำหอมของคนโบราณที่มีประโยชน์มาก นอกจากจะใช้ทาตัวแล้วยังนิยมนำไปใช้อบผ้าฝ้ายใหม่ ให้มีความคงทนและป้องกันแมลงกินผ้าได้
|
 |
นํ้าดอกไม้สด
เป็นการนำดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม เช่น มะลิ กุหลาบ จำปา จำปี กระดังงา ไปลอยในน้ำสะอาดเพื่อให้มีกลิ่นหอมของดอกไม้ สำหรับใช้ดื่มหรือนำไปทำขนม และนำไปใช้ทำน้ำอบไทย
|
 |
นํ้าอบนางลอย
สำหรับน้ำอบไทยที่ชาวบ้านรู้จักติดหูติดปากมากที่สุดตั้งแต่ยุคแรกเริ่มต้องยกให้ "น้ำอบนางลอย" เจ้าของตำนานน้ำอบแบบชาวบ้านที่รู้จักกันมานานกว่า 85 ปีแล้ว ( ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2467 ) นางเฮียง ชาวไทยเชื้อสายจีน บ้านเดิมอยู่เขตสัมพันธวงศ์ เป็นผู้เปิดตำนานน้ำอบนางลอยขึ้นมา โดยนางเฮียงไปได้สูตรน้ำอบของชาววังจากเพื่อนรักที่อยู่ในวัง เพื่อนคนนี้ได้สอนวิธีการทำน้ำอบเพื่อหวังจะให้นางเฮียงนำไปประกอบอาชีพ หลังจากนั้นนางเฮียงก็ปรุงน้ำอบออกมาขายอยู่หน้าตลาดนางลอย ด้วยกลิ่นหอมที่ถูกอกถูกใจชาวบ้าน ปากต่อปากพูดกันต่อๆ จนทำให้คนรู้จักกันทั้งเมือง และเรียกกันต่อๆ มาว่า " น้ำอบนางลอย " จนกลายเป็นตราสินค้าจนถึงปัจจุบัน ส่วนสัญลักษณ์ "นางฟ้าถือขวดน้ำหอม" บนขวดน้ำอบที่เห็นจนชินตานั้น เกิดจากความคิดง่ายๆ แค่อยากหารูปที่เข้ากับชื่อร้านเท่านั้นเอง “เมื่อได้ชื่อของร้านว่า น้ำอบนางลอย ครั้นจะทำสัญลักษณ์ ก็หารูปนางรำแบบต่างๆ มาดู ซึ่งตัวนี้มันลอยอยู่ เหมือนนางฟ้า ก็เลยนำมาใช้ และถือขวดน้ำอบของเรา จะได้เข้ากับชื่อ แล้วก็ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ จะเปลี่ยนก็ไม่ได้แล้ว เพราะประชาชนจำได้” ฟองจันทร์ ธ เชียงทอง ลูกสะใภ้รุ่นที่ 2 กล่าว น้ำอบนางลอย เป็นน้ำอบชื่อดังระดับชาวบ้านที่คนรู้จักมากที่สุดและมียอดจำหน่ายเป็นอันดับหนึ่ง ตลอดเวลากว่า 85 ปีที่ผ่านมา เอกลักษณ์ของน้ำอบนางลอยที่ทำให้สามารถครองใจลูกค้าไว้ได้ คือ กลิ่นหอมที่คุ้นเคย และคุณภาพน้ำไม่ดำ ส่วนสำคัญนั้น ฟองจันทร์ บอกว่าอยู่ที่การผสม และขั้นตอนผลิตอันเป็นสูตรลับเฉพาะตกทอดตั้งแต่ยุคนางเฮีย ในอดีตหัวน้ำหอมจะทำขึ้นเองโดยใช้สมุนไพรต่างๆ เช่น กะดังงา , มะลิ แต่มาในช่วงหลังมีการพัฒนาใช้หัวน้ำหอมจากต่างประเทศแทน เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว แต่กลิ่นที่ได้ไม่เปลี่ยนไปจากเดิม
|
 |
แป้งพวง
เป็นศิลปะอย่างหนึ่งของคนไทย โดยนำแป้งร่ำมาหยอดบนเส้นด้ายแล้วนำมารวมกันเป็นพวง และนำแป้งเหล่านั้นมาผูกกับดอกไม้ นำมาใช้ทัดหู แต่งผม ปักมวยผม จะได้กลิ่นหอม สวยงาม ใช้เป็นของชำร่วยและใช้ติดเสื้อได้อีกด้วย
|
 |
เเป้งรํ่า
เป็นแป้งหินหรือแป้งนวลที่ผสมเครื่องหอมด้วยกรรมวิธีดั้งเดิม เพื่อใช้ผสมกับน้ำอบทำเป็นแป้งกระแจะใช้ในการเจิมหรือใช้ทาผิวหลังอาบน้ำ ใช้ผัดหน้า ทาตัว ทำให้หอมสดชื่น
ตัวอย่างการทำเครื่องหอมไทย
การทำบุหงาสด
|
การทำนํ้าอบไทย
การทำแป้งรํ่า